ค่าเสียหายส่วนแรก คืออะไร จ่ายตอนไหน จ่ายทำไม

ค่าเสียหายส่วนแรก คือ อะไร?
คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้ให้ทุกบริษัทประกันภัยได้ใช้ในการดำเนินการ มีวัตถุประสงค์ในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ เพื่อป้องกันผู้ที่แจ้งเคลมโดยไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง เพื่อหวังซ่อมรถกับบริษัทประกันภัย
ค่าเสียหายส่วนแรก มี 2 ประเภท คือ ค่าเสียหายส่วนแรกแบบบังคับจ่าย (Excess) และ ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจจ่าย (Deductible)
ค่าเสียหายส่วนแรกแบบ Excess
คือ จำนวนเงินที่ต้องชำระเพิ่มเมื่อเคลมประกัน สำหรับประกันชั้น 1 จะต้องชำระ เมื่อมีความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการชน การคว่ำ หรือ เกิดการชนแต่ไม่ทราบคู่กรณี ซึ่งค่า Excess จะอยู่ที่ 1,000 บาทต่อเหตุการณ์
ค่าเสียหายส่วนแรกแบบ Deductible
คือ จำนวนเงินที่ระบุชัดเจนว่าผู้ขับขี่ต้องชำระหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 1,000 – 5,000 บาท ยิ่งเลือกชำระค่าเสียหายส่วนแรกสูงเบี้ยประกันก็จะยิ่งถูกลง อย่างไรก็ตาม หากต้องการเคลมประกันเมื่อไหร่ ก็ต้องดำเนินการชำระค่าเสียหายส่วนแรกตามที่ตกลงไว้ก่อนจึงจะสามารถดำเนินการซ่อมรถและเคลมประกันได้
ค่าเสียหายส่วนแรก ประเภทไหน จ่ายตอนไหนบ้าง?
เปรียบเทียบความแตกต่างของค่า Excess และค่า Deductible
ประเภท | ✅ ต้องจ่ายต่อเมื่อ | ❌ในกรณีไม่ต้องจ่าย | ยกตัวอย่าง |
ค่าเสียหายส่วนแรกแบบบังคับจ่าย (Excess) | ต้องจ่ายต่อเมื่อ ไม่สามารถระบุรายละเอียดของคู่กรณีได้ ซึ่งได้แก่ ป้ายทะเบียน ทั้งตัวเลข ตัวอักษร และจังหวัด ที่ชัดเจนพอที่จะให้บริษัทประกันรถยนต์ไปไล่หาต้นเหตุจนพบตัวคู่กรณีที่ต้องรับผิดชอบได้และต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเริ่มต้นที่ 1,000 บาท ต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดความเสียหายกับรถยนต์ของเรา หรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่เอง ที่ไม่ได้เกิดจากชนหรือคว่ำ | ไม่ต้องจ่ายต่อเมื่อ เป็นฝ่ายถูก และจะต้องสามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นการชนแล้วทำให้เกิดความเสียหายถึงกับ บุบ แตก ร้าว ระบุสาเหตุความเสียหายที่ชัดเจนหรือสามารถแจ้งรายละเอียดของคู่กรณี พอที่จะให้บริษัทประกันไปไล่เบี้ยหาต้นเหตุจนพบคนที่ต้องรับผิดชอบได้ | 1.) นาย A ทำประกันภัยรถยนต์ไว้ ต่อมาเกิดอุบัติเหตุ นาย A ขับรถชนกับรถนาย B ทำให้รถของทั้งคู่ได้รับความเสียหาย โดย นาย A แจ้งรายละเอียดของคู่กรณีกับบริษัทประกันภัยได้ จึงนำรถเข้าเคลม จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกแบบบังคับนี้ 2.) นาย A ขับรถไปชนขอบฟุตบาตจนทำให้รถเป็นรอย จึงได้นำรถเข้าเคลมกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ นาย A จะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก เนื่องจากเกิดจากการขับรถประมาทของตนเอง จนทำให้รถเกิดความเสียหาย |
ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจจ่าย (Deductible) | ต้องจ่ายต่อเมื่อ เป็นฝ่ายผิด จะต้องชำระค่าเสียหายส่วนแรกต่อเหตุการณ์ ตามที่ได้ตกลงกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ โดยลูกค้าจะได้ประโยชน์จากการที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ลดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ | ไม่ต้องจ่ายต่อเมื่อ เป็นฝ่ายถูก และสามารถแจ้งรายละเอียดของคู่กรณี พอที่จะให้บริษัทประกันไปไล่เบี้ยหาต้นเหตุจนพบคนที่ต้องรับผิดชอบได้ | นาย A ตกลงทำประกันรถยนต์แบบ Deductible มีค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท ทำให้ได้รับส่วนลด จ่ายเบี้ยประกันถูกลง ต่อมานาย A จอดรถไว้ และพบว่ามีความเสียหาย แต่ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร นาย A จึงนำรถเข้าเคลม จากเหตุการณ์ดังกล่าว การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท นาย A จะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจจำนวน 2,000 บาท ตามที่ได้ตกลงกับบริษัทฯประกันไว้ และต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกแบบบังคับ(excess) อีก 1,000 บาท |
โดยส่วนมาก ผู้ที่เลือกจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจนั้น เพราะอยากลดค่าเบี้ยประกันรายปี แต่พี่กู๊ดแนะนำว่าจะต้องเป็นคนที่ขับรถได้ดี มั่นใจว่าจะไม่ชน ไม่เฉี่ยวรถคันอื่นหรือเป็นผู้ที่ไม่ค่อยได้ใช้รถ ถือเป็นการเลือกจ่ายเบี้ยประกันให้ถูกลง ที่ปฏิบัติกันได้ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายเช่นกัน และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับค่าเสียหายส่วนแรกที่จำเป็นต้องรู้ก่อนทำประกันรถยนต์ครับ
อย่างไรก็ตาม เราควรที่จะถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถึงข้อมูลที่ถูกต้อง กับบริษัทฯประกันภัยรถยนต์ที่คุณสนใจ และศึกษาข้อมูลก่อนซื้อประกันรถยนต์ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจเลือกครับ
เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าเสียหายส่วนแรกคืออะไร แล้วคุณก็ยังสามารถซื้อประกันภัยรถยนต์โดยไม่จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกได้แล้วที่นี่
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.directasia.co.th/