What can we help you with?

ป้ายทะเบียนรถ มีสีอะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร

title

เคยสงสัยกันหรือไม่ ป้ายทะเบียนรถยนต์สีเหลือง สีเขียว สีดำ หรือสีอื่น ๆ ที่พบเจอบนท้องถนน แต่ละสีมีความหมาย และการใช้งานที่ต่างกันอย่างไร บล็อกนี้ DirectAsia นำเกร็ดความรู้มาฝาก ไปอ่านกัน!

 

ป้ายทะเบียน หรือป้ายทะเบียนรถ คืออะไร

ป้ายทะเบียนรถ (Vehicle registration plate) เป็นแผ่นป้ายที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า น้ำหนักเบา ผลิตจากโลหะ หรือแผ่นพลาสติก ทำหน้าที่ในการระบุรถยนต์ หรือยานพาหนะทางบกแต่ละประเภท

ส่วนป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลในประเทศไทย นิยมทำจากอะลูมิเนียม มีขนาด 13.5 x 6 นิ้ว พื้นป้ายมีลักษณะสะท้อนแสง ตัวอักษร และตัวเลขจะถูกปั๊มนูนขึ้นมาจากผิวหน้าป้ายทะเบียน ทำให้ด้านหลังของป้ายมีลักษณะเว้าลงไปตามอักขระ และหมายเลขทะเบียน

รถประเภทใด ต้องจดทะเบียน

ยานพาหนะทุกประเภทที่นำมาใช้งานบนท้องถนน เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถบรรทุก รถแทรกเตอร์ รถสามล้อ รถตู้ หรืออื่น ๆ จะต้องทำการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกก่อน โดยแต่ละประเภทจะถูกแบ่งออกตามการใช้งาน ดังนี้

รย.1 - รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน

รย.2 - รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน

รย.3 - รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล

รย.4 - รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

รย.5 - รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด

รย.6 - รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน

รย.7 - รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง

รย.8 - รถยนต์รับจ้างสามล้อ

รย.9 - รถยนต์บริการธุรกิจ

รย.10 - รถยนต์บริการทัศนาจร

รย.11 - รถยนต์บริการให้เช่า

รย.12 - รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

รย.13 - รถแทรกเตอร์ กำหนดลักษณะตามใช้งาน

รย.14 - รถบดถนน ไม่ต้องกำหนดลักษณะ

รย.15 - รถใช้งานเกษตรกรรม

รย.16 - รถพ่วง ไม่กำหนดลักษณะ

รย.17 - รถจักรยานยนต์สาธารณะ

ป้ายทะเบียนรถ มีสีอะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร

ป้ายทะเบียนแต่ละสี ใช้งานต่างกันอย่างไร

  1. ป้ายสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ ใช้สำหรับ รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และรถจักรยานยนต์
  2. ป้ายสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน ใช้สำหรับ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
  3. ป้ายสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีเขียว ใช้สำหรับ รถบรรทุกส่วนบุคคล เช่น รถกระบะ รถบรรทุกขนาดเล็ก
  4. ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ ใช้สำหรับ รถจักรยานยนต์ / รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน
  5. ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีแดง ใช้สำหรับ รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
  6. ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน ใช้สำหรับ รถยนต์ 4 ล้อรับจ้าง เช่น รถกระป๊อ
  7. ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีเขียว ใช้สำหรับ รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ เช่น รถตุ๊กตุ๊ก
  8. ป้ายสีเขียวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีขาว/สีดำ ใช้สำหรับ รถบริการทัศนาจร รถบริหารธุรกิจ รถบริการให้เช่า เช่น รถลีมูซีนสนามบิน
  9. ป้ายสีส้มสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ ใช้สำหรับ รถแทรกเตอร์ รถบนถนน รถพ่วง และรถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม
  10. ป้ายสีแดงสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ ใช้สำหรับ รถยนต์ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสามารถใช้งานบนถนนเพียงชั่วคราว
  11. ป้ายสีขาวไม่สะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ ใช้สำหรับ รถยนต์ของผู้แทนทางการทูตขึ้นต้นด้วย ท และตามด้วยรหัสประเทศขีดแล้วตามด้วยเลขทะเบียนรถ
  12. ป้ายสีฟ้าไม่สะท้อนแสง ตัวหนังสือสีขาว ใช้สำหรับ รถเฉพาะหน่วยงานพิเศษ อักษร ก คือ คณะผู้แทนกงสุล, อักษร พ คือ หน่วยงานพิเศษในสถานทูต, อักษร อ ใช้สำหรับ องค์กรระหว่างประเทศ
  13. ป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นลายกราฟิก ใช้สำหรับ ป้ายทะเบียนที่มีการประมูลตัวเลขชุดพิเศษ

ทั้งนี้ เมื่อได้รับป้ายทะเบียนแล้ว ควรใช้งานรถให้ตรงกับประเภทของแผ่นป้าย และที่สำคัญควรดูแลรักษาป้ายทะเบียนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ปล่อยให้ป้ายซีด หรือข้อมูลบนแผ่นป้ายหลุดลอก หากพบว่าป้ายชำรุด หรือสีซีด ให้รีบดำเนินการขอแผ่นป้ายทะเบียนใหม่ หรือจัดส่งแผ่นป้ายไปเคลือบสีที่กรมการขนส่งทางบกในทันที

 

สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์  โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th

DirectAsia เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ชั้น 1