ไฟฉุกเฉิน ไฟผ่าหมากใช้ตอนไหน ? ทำไมควรเปิดใช้ยามจำเป็น

ไฟฉุกเฉิน หรือ ไฟผ่าหมาก คือสัญญาณไฟฉุกเฉินที่มีอยู่ในรถยนต์ทุกคัน โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปสามเหลี่ยมสีแดงบนปุ่มที่ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคนคงจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่เชื่อว่ายังมีหลายๆ คนที่ยังไม่รู้ว่าไฟฉุกเฉินนั้นมีหน้าที่อะไร และควรใช้ไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากตอนไหนให้ถูกต้อง วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับไฟฉุกเฉินรถยนต์ ว่าควรจะใช้ตอนไหน ใช้แบบไหนถึงจะไม่ผิดกฎหมาย ไปไขคำตอบพร้อมกัน
ไฟฉุกเฉิน คืออะไร ?
ไฟฉุกเฉิน หรือที่ผู้ใช้รถยนต์ทุกคนมักจะเรียกกันว่า “ไฟผ่าหมาก” คือ ไฟที่ใช้ในการแจ้งเตือนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวรถของเรา โดยเฉพาะในกรณีฉุกเฉินที่รถยนต์ของเราไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หรือในกรณีที่มีสิ่งกีดขวาง หรือเจออุบัติเหตุด้านหน้า เพื่อเตือนผู้ใช้ถนนร่วมให้ระมัดระวังและชะลอความเร็วในการขับขี่นั่นเอง
ความเข้าใจผิดๆ ที่ผู้ใช้รถยนต์ใช้ไฟผ่าหมาก
1. เปิดไฟผ่าหมากตอนฝนตก
การเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ หรือไฟผ่าหมากตอนฝนตกหนักที่มีทัศนวิสัยย่ำแย่ อาจสร้างความเข้าใจผิดหรือสับสนกับคนที่ขับรถตามหลังมาได้ว่าคุณกำลังส่งสัญญาณไฟเลี้ยวอยู่หรือไม่ รวมถึงแสงที่กระทบกับสายฝนจะมีความสว่างมากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ไปรบกวนสมาธิในการขับขี่ของรถที่ขับตามมา ดังนั้นสิ่งที่ควรทำขณะขับรถตอนฝนตก ก็คือ เปิดไฟหน้ารถและมีสติ ไม่ประมาท
2. เปิดไฟฉุกเฉินขณะขับข้ามแยก
เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นรถที่ใช้ไฟฉุกเฉินตอนขับรถข้ามแยก ในกรณีที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ซึ่งการเปิดไฟผ่าหมากขณะขับรถข้ามแยกนั้น อาจทำให้ผู้ใช้ถนนร่วมเข้าใจผิดจากสัญญาณไฟได้ว่าคุณกำลังส่งสัญญาณไฟเลี้ยวได้อีกเช่นกัน เพราะพวกเขาจะมองเห็นสัญญาณไฟด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เมื่อเราขับขี่ออกไปโดยที่ไม่ได้ระมัดระวังจึงอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
3. เปิดไฟฉุกเฉินตอนขับรถ
การเปิดไฟฉุกเฉินตอนขับรถ เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ผู้ใช้รถใช้ถนนหลายคนต้องเคยเจอ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ควรทำเป็นอย่างมาก เพราะรถคันหลังที่ขับตามมาจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าคุณจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือว่าจะจอดนั่นเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุชนท้ายขึ้นได้
4. เปิดไฟฉุกเฉินเพื่อจอดซื้อของข้างทาง
เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่พบเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน คือการเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อซื้อของตามร้านค้า หรือทำธุระต่างๆ ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ใช้ถนนร่วมเกิดความเข้าใจผิดว่า ข้างหน้ามีการจราจรติดขัดหรือมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอยู่หรือไม่ ดังนั้น หากคุณต้องจอดทำธุระหรือซื้อของริมถนน แนะนำว่าให้หาที่จอดที่ปลอดภัยและจอดได้ ทำการจอดก่อนที่จะไปทำธุระต่างๆ จะดีที่สุด
ไฟฉุกเฉิน ควรใช้ตอนไหน?
สำหรับการใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ หรือไฟผ่าหมากนั้น ตาม พรบ. รถยนต์ ระบุเอาไว้ว่า สามารถเปิดใช้ได้ในกรณีที่รถเสียจอดอยู่กับที่ ไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเคลื่อนย้ายรถได้ หรือในกรณีที่ใช้ความเร็วสูงในการขับขี่ แต่เจอสิ่งกีดขวางหรืออุบัติเหตุข้างหน้าก็สามารถที่จะเปิดไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากเพื่อเตือน หรือส่งสัญญาณให้รถคันหลังระมัดระวังและชะลอความเร็วลง เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นนั่นเอง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไฟฉุกเฉิน
กฎหมายการใช้ไฟฉุกเฉิน ถูกระบุเอาไว้ในการใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน สามารถใช้ได้ในบางกรณี ดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56
ได้ระบุเอาไว้ว่า ในกรณีที่เครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ของรถยนต์คันนั้นๆ เกิดเสียจนต้องจอดรถกีดขวางการจราจรผู้ขับขี่ต้องรีบนำรถออกไปให้จากเส้นทางจราจรโดยเร็วที่สุด โดยวรรคที่หนึ่งระบุเอาไว้ว่า หากมีความจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่จะต้องเปิดไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากอันเป็นสัญลักษณ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
- กฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 ข้อ 3 (จ)
รถยนต์ทุกประเภทจำเป็นต้องมีแสงสว่างและแสงสัญญาณเตือนอันตราย มีระบบควบคุมไฟฉุกเฉินแยกจากโคมไฟเลี้ยว และเมื่อให้สัญญาณเตือนอันตรายไฟเลี้ยวจะต้องกะพริบพร้อมกันทุกดวง
- พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 11
ระบุเอาไว้ว่า หากจอดรถในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอต่อการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นคนหรือรถยนต์ ผู้ขับขี่จะต้องทำให้ผู้ใช้รถคันอื่นๆ เห็น ด้วยการเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินในระยะไม่น้อยกว่า 150 ม. ซึ่งหากไม่ทำตามจะมีโทษปรับเป็นจำนวนเงิน 500 บาท
ทั้งหมดนี้คือเรี่องเกี่ยวกับไฟฉุกเฉินรถยนต์ที่ทางเราได้รวบรวมข้อมูล เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ให้กับผู้ใช้รถยนต์ที่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมาก หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้ขับขี่ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้ไฟฉุกเฉินกันมากขึ้น เพราะการใช้ไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากแบบผิดๆ อาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้
การทำประกันรถยนต์ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เราอุ่นใจมากยิ่งขึ้นตลอดการเดินทาง สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์อยู่เราขอแนะนำ ประกันรถยนต์จาก Direct Asia ที่มีแผนประกันรถยนต์ให้เลือกตามไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันรถชั้น 3+ และอีกมากมาย รวมถึงบริการช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชม. รับรองว่านอกจากเบี้ยประกันที่ถูกแล้ว การบริการยังรวดเร็วและคุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่จ่ายไปอย่างแน่นอน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดประกันรถยนต์ได้ที่ https://www.directasia.co.th/online-insurance/
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร. 0-2767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th