สาเหตุที่ทำให้น้ำเข้ารถ และวิธีป้องกันน้ำเข้ารถช่วงหน้าฝน

ช่วงนี้หลายพื้นที่อาจมีฝนตกและมีน้ำขังตามพื้นถนนที่รอการระบาย ทำให้การขึ้น-ลงรถในแต่ละครั้งอาจมีน้ำเข้ารถได้ ซึ่งการที่น้ำเข้ารถบ่อยๆ อาจทำให้เครื่องยนต์หรือระบบไฟฟ้าของรถยนต์พังได้ และอาจสร้างความกังวลให้เจ้าของรถเพิ่มอีกว่า ประกันรถยนต์ที่ทำอยู่จะรับเคลมประกันหรือไม่ ? วันนี้เราจึงจะพาไปดูสาเหตุที่อาจทำให้น้ำเข้ารถของคุณได้ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้น้ำเข้ารถกัน
สาเหตุทำน้ำเข้ารถตอนฝนตกบ่อยๆ
นอกจากปัญหาน้ำเข้ารถตอนฝนตก ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้น้ำเข้ารถได้ นั้นสามารถแบ่งออกเป็นสาเหตุหลักๆ ดังนี้
1.จุกยางระบายน้ำหาย
จุกยางที่ว่านี้จะอยู่ที่พื้นรถ ซึ่งรถทุกยี่ห้อจะมีอยู่ โดยจุกยางระบายน้ำนี้จะคอยทำหน้าที่ป้องกันน้ำเข้ารถในกรณีที่เราจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำท่วมสูงๆ ช่วยให้รถไม่ลอยหรือเหินขึ้น เนื่องจากรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีพื้นรถที่ต่ำ โดยเฉพาะรถเก๋งและรถซีดาน ดังนั้น เมื่อน้ำเข้ารถจึงจำเป็นต้องให้ล้อรถแตะกับพื้นถนนเข้าไว้ เพื่อที่จะได้สามารถควบคุมทิศทางของรถได้ ซึ่งจุกยางระบายน้ำนี้ มักจะหายไปตอนที่ขับขี่ลุยน้ำ หรือใช้ชีวิตประจำวัน และถ้าจุกยางดังกล่าวหายไป อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำเข้ารถได้ เมื่อขับรถลุยน้ำที่ท่วมในระดับสูง
2.ยางขอบประตูปิดไม่สนิท
กรณีที่ยางขอบประตูปิดไม่สนิทหรือชำรุดเสียหาย เราอาจไม่สามารถกำหนดจุดที่น้ำจะซึมเข้ารถได้เลย ขณะที่เราต้องขับรถลุยน้ำจะยิ่งเพิ่มโอกาสให้น้ำเข้ารถตอนฝนตกได้ง่ายขึ้น ดังนั้น เราจึงต้องคอยสังเกตดูความเปลี่ยนแปลงของขอบยางว่ามีการสึกหรอ หรือเสื่อมสภาพหรือไม่ โดยสามารถสังเกตได้จากเสียงลมจากภายนอกดังเข้ามาในรถขณะขับขี่ ซึ่งอาจสงสัยได้ว่ามาจากยางขอบประตูเสื่อมสภาพ หรือหากไม่มั่นใจลองหาเศษกระดาษมาสอดเข้าช่องระหว่างประตูดูว่า สามารถเลื่อนกระดาษไปมาได้หรือไม่ หากสามารถเลื่อนได้หมายความว่ายางขอบประตูนั้นเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนยางขอบประตูทันที
3.พลาสติกซุ้มล้อแตกหรือรั่ว
หากพลาสติกซุ้มล้อแตกหรือรั่ว เมื่อเราขับรถลุยน้ำจะมีน้ำซึมเข้ามายังที่วางเท้าภายในรถจนกระทั่งท่วม ซึ่งหากขับรถผ่านจุดที่มีน้ำขังและรู้สึกว่ามีน้ำซึมเข้ารถมาที่พรมปูพื้นที่วางเท้า แนะนำว่าให้รีบนำรถของคุณเข้าศูนย์หรืออู่ที่อยู่ในเครือประกันโดยเร็วจะดีที่สุด เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็กรอยแตกหรือรั่วและทำการอุดรอยดังกล่าวนั่นเอง
4.ท่อน้ำทิ้งแอร์รั่ว
สำหรับเหตุการณ์ที่ท่อน้ำทิ้งแอร์รั่วนั้น คุณจะสามารถรู้ได้เลยทันทีเพราะจะมีน้ำขังอยู่ในรถ โดยสังเกตได้จากพรมปูพื้นที่เท้าจะส่งกลิ่นเหม็นอับนั่นเอง ซึ่งหากสังเกตเห็นหรือได้กลิ่นเหม็นอับแล้วให้รีบทำการแก้ไขโดยทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้ตัวรถเกิดสนิมจนผุพังไปจนถึงตัวถังได้
วิธีป้องกันน้ำเข้ารถ หากจำเป็นต้องขับรถผ่านจุดที่มีน้ำท่วมขัง
- หากมีความจำเป็นต้องขับรถไปยังพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังให้ทำการปิดแอร์รถยนต์ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ใบพัดของแอร์กระจายน้ำไปยังห้องเครื่องยนต์
- ขับรถด้วยความเร็วที่ต่ำอย่างสม่ำเสมอด้วยการใช้เกียร์ต่ำในการขับขี่ และไม่ควรเร่งเครื่องยนต์มากเกินไป
- เมื่อขับลุยน้ำมาแล้วไม่ควรที่จะดับเครื่องยนต์ทันที ให้ติดเครื่องยนต์เอาไว้ก่อนเพื่อให้น้ำที่อาจเข้าท่อไอเสียระเหยออกไปให้หมดก่อน
- ตรวจเช็กจุดเสี่ยงต่างๆ ที่อาจทำให้น้ำเข้ารถได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รถยนต์อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด
ประกันรถยนต์รับเคลมหรือไม่ เมื่อน้ำเข้ารถ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กรณีที่รถยนต์ได้รับความเสียหายจากการที่น้ำเข้ารถนั้นมีหลายกรณี จึงทำให้ประกันรถยนต์ที่ทำอยู่จะให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันไป แต่หากผู้ใช้รถทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันรถยนต์ชั้น 2+ ไว้ก็สบายใจหายห่วง เพราะเงื่อนไขในกรมธรรม์ของประกันรถยนต์ทั้ง 2 ประเภทนี้ จะให้การคุ้มครองอยู่แล้วนั่นเอง
การขับรถลุยน้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำที่รอระบายหรือน้ำท่วมสูง มักจะทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำเข้ารถอยู่บ่อยๆ หากไม่อยากพบกับแอ่งน้ำภายในตัวรถหรือรถพัง ควรที่จะตรวจเช็กสภาพรถอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอด รวมถึงควรที่จะทำประกันรถยนต์เอาไว้ด้วย เพื่อเสริมความอุ่นใจในกรณีที่เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำเข้ารถขึ้นจะได้สามารถส่งเคลมประกันได้ทันที หรือหากมีเหตุฉุกเฉินจะได้ขอความช่วยเหลือได้ รวมถึงคุ้มครองอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นขณะขับขี่อีกด้วย เห็นแบบนี้แล้ว ใครที่กำลังมองหาแผนประกันรถยนต์อยู่ เราขอแนะนำประกันรถยนต์จาก DirectAsia ที่มีแผนประกันรถยนต์หลากหลายแผนรองรับผู้ใช้รถยนต์ทุกรูปแบบ หากใครมีข้อสงสัยหรืออยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร. 0-2767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th