รถยนต์ไฟฟ้า EV คืออะไร ข้อดีข้อเสียของรถ EV มีอะไรบ้าง

หากใครที่ติดตามข่าวสารของรถยนต์ในช่วงหลัง ๆ มานี้ อาจจะกำลังสนใจในเมกะเทรนด์ที่น่าจับตา อย่างรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในเรื่องของความประหยัด และนโยบายของรัฐบาลที่ช่วยสนับสนุนการซื้อรถยนต์ประเภทนี้อีกด้วย
แต่สำหรับคนที่สนใจแต่ยังลังเลไม่กล้าซื้อนั้น ก็อาจจะมีคำถามอยู่ในใจว่า รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV คืออะไร ทำงานอย่างไร ข้อเสียข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร และในเรื่องของประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะยุ่งยากกว่ารถยนต์ปกติหรือไม่ วันนี้ ไดเร็ค เอเชีย จะมาคลายข้อสงสัยกันแบบครบจบในโพสต์เดียว
รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV คืออะไร? ทำงานอย่างไร?
รถยนต์ไฟฟ้าหรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า รถ EV (Electric Vehicle) เป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวในการขับเคลื่อน โดยที่ไม่มีการใช้น้ำมันเครื่องแบบรถยนต์สำหรับทั่วไป ซึ่งองค์ประกอบหลักในการทำงานของรถยนต์ประเภทนี้ก็คือ
- แบตเตอรี่ ที่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อใช้รองรับในการขับเคลื่อนรถยนต์
- อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า ที่ดึงพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ส่งต่อไปยังตัวมอเตอร์ไฟฟ้า
- มอเตอร์ไฟฟ้า ที่รับไฟฟ้ากระแสสลับมาใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์
ซึ่งในปัจจุบันนั้นนอกจากรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ก็ยังมีเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่นำไฟฟ้าเข้ามาช่วยขับเคลื่อนรถยนต์อย่างเช่น เทคโนโลยี E-Power, เทคโนโลยีไฮบริดที่ใช้ทั้งน้ำมันและพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท?
นอกจากระบบของการทำงานที่เป็นการใช้ไฟฟ้าเข้ามาขับเคลื่อนแล้ว รถยนต์ไฟฟ้ายังสามารถแบ่งออกได้ถึง 3 ประเภทด้วยกัน คือ
1.รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle : HEV)
เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานผสมระหว่างการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้า ทำให้สามารถประหยัดน้ำมันได้มากกว่ารถยนต์สันดาปทั่วไป และยังสามารถนำพลังงานกลที่เหลือมาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย แต่ข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ก็คือไม่สามารถเสียบชาร์จไฟฟ้าได้
ตัวอย่างรุ่นรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด เช่น Toyota Corolla Cross 1.8 HEV, Honda City e:HEV, MG HS PHEV, Toyota Corolla Altis HEV, Nissan Kicks e-POWER, Toyota C-HR HEV
2. รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV)
รถยนต์ประเภทนี้จะพัฒนามาจาก HEV โดยสามารถใช้พลังงานผสมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน แต่เพิ่มระบบเสียบชาร์จไฟฟ้าเข้ามา เพื่อให้สามารถนำไฟฟ้าเข้ามาเก็บไว้ในแบตเตอรี่ของตัวเครื่องได้ ส่งผลให้สามารถวิ่งโดยใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากกว่ารถยนต์แบบ HEV โดยที่ยังสามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างรุ่นรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด เช่น MG HS PHEV 2022, Mitsubishi Outlander PHEV, Volvo XC40 Recharge, Audi Q7 60 TFSI e, Mercedes-Benz C-Class Saloon
3. รถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวในการขับเคลื่อน (Plug-in Electric Vehicles : PEVs)
เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ไม่มีการเผาไหม้ ปล่อยมลพิษ และคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์โดยตรง ซึ่งรถ PEVs ก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อยคือ
- รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้วิ่งในระยะสั้น หรือในละแวกใกล้เคียง เป็นรถยนต์ที่มีช่วงการขับขี่ที่ต่ำ อีกทั้งยังมีความเร็วต่ำ ขนาดกะทัดรัด เหมาะสำหรับใช้ในการขับขี่ในละแวกชุมชนใกล้ๆ เช่น DT Motor Mini City Car, Wuling AIR EV, MINI EV Car, Changan Lumin เป็นต้น
- รถยนต์ไฟฟ้าประเภท Battery Electric Vehicle (BEV) หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ที่ใช้แบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ได้รับความนิยมที่สูงมาก เช่น BMW i7 Sedan, Tesla Model 3, Tesla Model Y, BYD SEAL, ORA 07, Volvo C40 Recharge Pure Electric เป็นต้น
- รถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle – FCEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แหล่งพลังงานจากการ์ดไฮโดรเจน ส่งมาเป็นพลังงานให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับการขับเคลื่อนรถ การเติมพลังงานของรถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้จึงเป็นการเติมพลังงานไฮโดรเจนที่สถานีบริการ ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ยังไม่แพร่หลายในปัจจุบันมากนัก เนื่องจากยังมีการทดลองและพัฒนาอยู่ เช่น Toyota Mirai FCEV, Honda CR-V e:FCEV, Toyota Crown FCEV, Hyundai Xcient, Land Rover Defender เป็นต้น
ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้า คืออะไร ทำไมต้องใช้รถยนต์ประเภทนี้?
เมื่อพูดถึงคุณสมบัติของรถยนต์ EV แล้ว สิ่งที่ควรรู้ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อก็คือข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้า ที่อาจจะเหมาะสมกับวิธีการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งเราก็คัดเลือกข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้ามาถึง 5 ข้อด้วยกันคือ
1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขับขี่และค่าซ่อมบำรุง
เนื่องจากรถยนต์ประเภทนี้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งมีราคาที่ถูกกว่าเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อน ทำให้ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องเสียเงินในการเติมน้ำมันเหมือนรถยนต์สันดาปทั่วไป อีกครั้งเมื่อมีการใช้พลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้าทำให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาก็น้อยลงด้วย อย่างเช่นไม่มีการกรองของเหลวแบบรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
2. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้าอีกข้อนึง คือ ไม่มีการเผาไหม้ ไม่มีการปล่อยไอเสีย ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษกับชั้นบรรยากาศของโลก
3. ตัวเครื่องเงียบ ไม่สร้างมลพิษทางเสียง
พร้อมมอเตอร์ไฟฟ้ามีการทำงานที่เงียบกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน ทำให้ไม่มีขั้นตอนในการเผาไหม้จึงก่อให้เกิดเสียงในการขับขี่ ดังนั้นรถยนต์ไฟฟ้าจากไม่มีเสียงเมื่อขับขี่ ซึ่งแตกต่างกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
4. อัตราเร่งดีกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
เพราะไม่มีขั้นตอนของการทดเกียร์และโดยส่วนมากรถยนต์ไฟฟ้าจะมีแรงบิดที่มากกว่า จึงสามารถตอบสนองการขับขี่ได้ตามความต้องการ
5. สามารถชาร์จแบตได้จากที่บ้านได้เลย
อีกหนึ่งข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้าสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาต่อคิวเติมน้ำมันในวันหยุดอีกต่อไป
ข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้าที่ควรรู้ก่อนซื้อ
แต่นอกจากข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าก็ยังมีข้อเสียหรือข้อจำกัดเช่นกัน ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น ในฐานะของผู้บริโภคก็ควรมีการศึกษาข้อเสียเหล่านี้ให้ชัดเจนก่อนการซื้อ เช่น
1. มีราคาที่สูงกว่ารถยนต์น้ำมันในตลาดทั่วไป
เนื่องจากกระบวนการผลิตของรถยนต์ไฟฟ้าต้องใช้เทคโนโลยีที่มีราคาสูง จึงทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง
2. ระยะทางขับขี่จำกัด
จึงจำเป็นที่จะต้องวางแผนการขับขี่ให้รอบคอบก่อนการขับไปต่างจังหวัด และยังต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับสถานีชาร์จระหว่างเส้นทางอีกด้วย
3. สถานีชาร์จยังไม่ครอบคลุม
โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ที่มักจะหายากพอสมควร
4. ขยะจากแบตเตอรี่
ที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันอย่างพอสมควรว่าเมื่อแบตเตอรี่ที่อายุแล้วจะมีการจัดการอย่างไร เพื่อไม่ให้กลายเป็นขยะที่มีจำนวนมหาศาลที่ส่งผลต่อโลกมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
ประกันรถยนต์ไฟฟ้า อีก 1 ตัวช่วยของการขับขี่ EV
อย่างที่รู้กันว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูงและยังมีข้อจำกัดที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานมากพอสมควร หากลองส่องดูราคาแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นจะพบว่ามีราคาที่สูงมากจนสามารถที่จะซื้อรถยนต์คันใหม่ได้เลย อย่างเช่น BYD ATTO 3 อยู่ที่ 528,730 บาท, MG 4 Electric อยู่ที่ 525,000 บาท, ORA GOOD CAT อยู่ที่ 445,000, NETA V อยู่ที่ 420,000 บาท ทำให้เรื่องของการเปลี่ยนอะไหล่และแบตเตอรี่เป็นอีกหนึ่งข้อกังวลของผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประกันรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ควรมีสำหรับการเป็นเจ้าของรถ EV เพื่อให้ลดค่าใช้จ่ายที่จะสูงมากกว่ารถยนต์น้ำมันทั่วไปได้ เช่นค่าใช้จ่ายของอะไหล่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์ต่างๆ ในอนาคต เพื่อคลายกังวลกับปัญหาต่างๆ ได้
ซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้า ควรเลือกซื้ออย่างไรให้ครอบคลุม?
การทำประกันรถยนต์ไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ช่วยให้เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าเกิดความอุ่นใจได้ แต่จะเลือกซื้อยังไงให้ครอบคลุมและเหมาะสมกับค่าใช้จ่าย ก็ควรที่จะพิจารณาให้รอบด้าน โดยมีวิธีพิจารณาอยู่ 4 ข้อด้วยกัน คือ
- เลือกจากความคุ้มครองที่ครอบคลุม โดยต้องครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ใช้ชาร์จพลังงานรถ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ยังควรครอบคลุมถึงค่าอะไหล่ และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในตัวรถอีกด้วย
- มีศูนย์ซ่อมในเครือให้เลือกเยอะ และที่สำคัญคือต้องเป็นศูนย์ซ่อมที่มีมาตรฐาน มีอุปกรณ์และอะไหล่ครบครัน เพื่อลดการเสียเวลาในระหว่างการซ่อม
- เบี้ยประกันและทุนประกันควรสอดคล้องกับการครอบคลุม หากราคาสูงก็ควรครอบคลุมมากขึ้นตามราคา และที่สำคัญที่สุดคือต้องตรวจสอบเงื่อนไขของการประกันว่าควรต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมเองในกรณีใดหรือไม่
- การให้บริการของประกัน ต้องสามารถเคลมได้ง่าย ตัวแทนประกันรวมถึงบริษัทประกันควรใส่ใจกับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามคับขัน ต้องมีช่องทางให้ติดต่อได้ง่าย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV ที่ควรรู้ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว การซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้า ก็เป็นสิ่งที่ควรซื้อและไม่ควรพลาดแต่อย่างไร สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ไฟฟ้านั้น ไดเร็ค เอเชีย ก็มี ประกันภัยรถ EV ชั้น 1 ที่คุ้มครองอย่างครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะทั้งตัวรถ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้า ไม่หักค่าเสื่อมราคา ไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก คุ้มครองความเสียหายทั้งมีคู่กรณี และไม่มีคู่กรณี นอกจากนี้ยังคุ้มครองกรณี รถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม และมีศูนย์ให้บริการ 24 ชั่วโมง ทั้งหมดนี้ในเบี้ยเริ่มต้นที่ 2,XXX บาท/เดือน ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน ไม่มีบัตรก็ผ่อนได้อีกด้วย
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.directasia.co.th/
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด