ขับรถชนเสาไฟฟ้า ป้ายทางหลวง จ่ายเท่าไหร่

- โดนค่าปรับขับรถโดยประมาทก่อน
- ขับรถชนเสาไฟฟ้า จ่ายเท่าไหร่
- ขับรถชนป้ายทางหลวง จ่ายเท่าไหร่
- ขับรถชนเสาจราจร จ่ายเท่าไหร่
- ขับรถชนแบริเออร์ จ่ายเท่าไหร่
- ขับรถชนต้นไม้ จ่ายเท่าไหร่
- ขับรถชนอุปกรณ์จราจรอื่นๆ จ่ายเท่าไหร่
- รถชนเสาไฟฟ้า ป้ายทางหลวง ประกันจ่ายไหม
วันนี้พี่กู๊ดได้รวมค่าเสียหายเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนของหลวง หรือทรัพย์สินบุคคลภายนอก ว่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่าไหร่กันบ้าง ขอกระซิบบอกก่อนว่า พี่กู๊ดลองประเมินค่าเสียหายเล่น ๆ ไม่น้อยเลยทีเดียว ลองไปดูกันครับ
อุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น และแน่นอนว่าไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดเมื่อไหร่ แต่หากเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจ หรือไม่ได้ตั้งใจ สิ่งที่ต้องคำนึงอย่างแรกคือการแสดงความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของเรา และสิ่งที่ตามมาก็คือมูลค่าความเสียหายที่อาจมหาศาลเลยทีเดียว
โดนค่าปรับขับรถโดยประมาทก่อน
สำหรับผู้ขับขี่ที่เผลอทำความเสียหายต่อทรัพย์สินทางราชการ เบื้องต้นจะต้องชดเชย ความผิดตามพรบ.จราจรทางบก มีโทษปรับขั้น สูงสุด 1,000 บาท ในฐานความผิดกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุทำให้ทรัพย์สินของทางราชการได้รับความเสียหาย รวมทั้งจะต้องชดใช้ค่าเสียหายของทรัพย์สินดังต่อไปนี้
ขับรถชนเสาไฟฟ้า จ่ายเท่าไหร่
เสาไฟฟ้าแรงสูง อยู่ในความดูแลของหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรการไฟฟ้า หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ต้องจ่ายค่าปรับ ยังจะต้องจ่ายค่าเสียหาย ในส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุด้วยเช่นกัน โดยคำนวณจากความสูง หรือกำลังไฟของเสาไฟฟ้า ประกอบด้วย สายไฟ หม้อแปลง หลอดไฟ และค่าแรงที่จะต้องรื้อถอน และติดตั้งใหม่ คิดเป็นจำนวนเงินโดยประมาณ 30,000 – 300,000 บาท ต่อเสาไฟ 1 ต้น หากเป็นเสาไฟฟ้าที่พ่วงสาย Internet ด้วย ค่าเสียหายจะมีมูลค่ามากกว่าเสาไฟฟ้าปกติครับ
ขับรถชนป้ายทางหลวง จ่ายเท่าไหร่
ป้ายทางหลวงอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวง หากเกิดอุบัติเหตุกับป้ายจราจรแล้วเกิดความเสียหาย เจ้าหน้าที่จะทำการส่งเรื่องไปยังกรมทางหลวง ทำการประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าเสียหายเป็นจำนวน 1,000 – 2,000 บาท โดยมูลค่าของป้ายจะขึ้นอยู่กับขนาด และความเสียหายของป้าย
ขับรถชนเสาจราจร จ่ายเท่าไหร่
เสาจราจร อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวง หรือของเขตกรุงเทพมหานคร หากเกิดอุบัติเหตุแล้วเสาไฟจราจรได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่จะทำการส่งเรื่องไปยังกรมทางหลวง หรือเขตกรุงทพมหานคร ทำการประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าเสียหายเป็นจำนวน 8,000 – 15,000 บาท โดยมูลค่าความเสียหายจะขึ้นอยู่กับขนาดของเสาไฟจราจร
ขับรถชนแบริเออร์ จ่ายเท่าไหร่
Barrier หรือ แบริเออร์ ตัวกันถนน อุปกรณ์กั้นขวางทาง อยู่ในความดูแลของภาครัฐ หากเกิดอุบัติเหตุแล้ว Barrier เสียหาย ต้องชดใช้เป็นจำนวน 800 – 1,500 บาท ต่อชิ้น โดยค่าเสียหายนี้จะขึ้นอยู่กับวัสดุ และจำนวน Barrier ที่เสียหายไปทั้งหมด รวมถึงมีค่าเสียหายอื่น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องปิดถนน เพื่อทำความสะอาดพื้นถนน ที่เกิดจากของเหลวรั่วไหลตอนเกิดอุบัติเหตุ ผู้เสียหายจะต้องจ่ายค่าทำความสะอาดเพิ่มขึ้นด้วยครับ
ขับรถชนต้นไม้ จ่ายเท่าไหร่
ต้นไม้ อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงโดยมีเทศบาลท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นผู้ดูแล ไม่ว่าจะเป็นการปลูกดอกไม้ ต้นไม้ รวมถึงการรดน้ำดูแลทั้งหมดเช่นกัน หากเกิดอุบัติเหตุก่อให้เกิดความเสียหาย ต้องชดใช้เป็นจำนวน 3,000 – 8,000 บาท ค่าเสียหายดังกล่าว ยังขึ้นอยู่กับขนาด หรืออายุขัยของต้นไม้ด้วยเช่นกัน
ขับรถชนอุปกรณ์จราจรอื่นๆ จ่ายเท่าไหร่
-
กรวยจราจร
หากเกิดอุบัติเหตุก่อให้เกิดความชำรุด จะต้องชดใช้เป็นจำนวน 200 – 800 บาท ต่อชิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของกรวย และจำนวนที่เสียหายทั้งหมด
-
เสาจราจรแบบชั่วคราว หรือเสาล้มลุก
หากเกิดอุบัติเหตุก่อให้เกิดความชำรุด จะต้องชดใช้เป็นจำนวน 800- 1,500 บาท ต่อต้น
-
แผงกั้นจราจร
หรือราวเหล็กกั้นรถยนต์ หากเกิดอุบัติเหตุก่อให้เกิดความชำรุด จะต้องชดใช้เป็นจำนวน 1,000 – 5,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด หรือวัสดุด้วยเช่นกัน
ทรัพย์สินทั้งหมดนี้ ถ้าหากผู้ใดกระทำผิดไม่ทำตามกฎหมาย สามารถถูกดำเนินคดีในข้อหา “ผู้ใดทำให้เสียหายหรือทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ตามมาตรา 360 ในการประมวลกฎหมายอาญา”
รถชนเสาไฟฟ้า ป้ายทางหลวง ประกันจ่ายไหม
เนื่องจากกรณีขับรถชนเสาไฟฟ้าถือว่าเป็นการเคลมประกันแบบไม่มีคู่กรณี ดังนั้นจะมีแค่ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่บริษัทประกันจะชดใช้ค่าเสียหายทั้งในส่วนของรถยนต์ และทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย แต่หากทำประกันชั้น 2 ประกันชั้น 3 จะไม่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขและความคุ้มครองที่ไม่ครอบคลุมกรณีขับรถชนของหลวง
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่มีเงิดชดใช้ค่าเสียหาย ก็สามารถเข้าไปเจรจาต่อรองขอผ่อนชำระหนี้ หรือขอลดหนี้สินที่แผนกไกล่เกลี่ยและประนอมหนี้กับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่อาจจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มด้วย ที่สำคัญคือห้ามหนีหนี้ หรือไม่ให้ความร่วมมือในการชดใช้ค่าเสียหายเด็ดขาด เพราะจะถูกดำเนินคดี และต้องชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่ศาลกำหนดตาม "มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด" นั่นเอง
เปรียบเทียบประกันรถยนต์ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้านการประกันรถยนต์ ทั้ง ประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิกเว็บไซต์ https://www.directasia.co.th หรือสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ โทร 02-767-7777
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด