พ.ร.บ รถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง

รู้มั้ยว่า? พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535) สามารถช่วยคุณได้ในกรณีขับรถชน แล้วผู้เสียหายและคู่กรณีไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ซึ่ง พ.ร.บ. จะช่วยได้อย่างไร? คุ้มครองครอบคลุมแค่ไหน? แล้วทำไมคนมีรถถึงต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์? ไปอ่านกันค่ะ
พ.ร.บ. รถยนต์ คือ
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกชนิดทุกประเภทต้องจดทะเบียนกับการขนส่งทางบก ไม่ว่าจะเป็นรถขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน, ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นๆ เช่น รถจักรยานยนต์ , รถโดยสาร,รถตู้, รถบรรทุก, รถไถนา, รถอีแต๋น,รถตุ๊กตุ๊ก เป็นต้น หากเจ้าของรถไม่ทำ พ.ร.บ. จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และถ้าทำแล้ว แต่ไม่ติดเครื่องหมายไว้ที่รถให้เห็นชัดเจน ก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท เช่นกันค่ะ
รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำ พ.ร.บ.รถยนต์
-
- รถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทน
- รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามพระราชวังกำหนด
- รถของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ และรถยนต์ทหาร
- รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานอิสระที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง
ประกัน พ.ร.บ. มีจุดประสงค์คือการคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคลที่ประสบภัยจากรถ แต่ไม่ได้คุ้มครองรถยนต์ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า รวมถึงทายาทของผู้ประสบภัยด้วย ที่ถูกเฉี่ยวชน ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุใดก็ตามที่เกี่ยวกับรถ จะได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยเป็นเงินจากกองกลางของรถทุกคันที่ทำ พ.ร.บ. นั่นเองค่ะ
ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ที่จะได้รับคือเท่าไหร่
ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยเนื่องจากกรณีรถตั้งแต่ 2 คันขึ้นไปเฉี่ยวชนกัน โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิด ซึ่งบริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่บริษัทรับประกันภัยไว้
-
- กรณีบาดเจ็บค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท
- กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
** รวมกันแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 65,000 บาท
หมายเหตุ ค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล แก่ผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการ และจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัย หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ต้องจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากรถ(ประกาศใช้ 1 ตุลาคม 2547)
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+ , ประกันรถยนต์ 3+ , ประกันชั้น 2 , และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th/
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด