เตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไร

มีใครได้รับวัคซีนป้องกัน โควิด-19 แล้วบ้างครับ เป็นอย่างไรกันบ้าง สามารถมาแบ่งปันข้อมูลกันได้นะครับ ส่วนใครที่กำลังรอคิวกันอยู่ พี่กู๊ดมีวิธีการเตรียมตัวก่อนรับวัคซีน รวมถึงอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ ไปดูพร้อมกันเลยครับ
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคุณสมบัติสำคัญของวัคซีนโควิด-19 ไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อแต่อย่างใด นั่นหมายความว่าต่อให้คุณได้รับวัคซีนไปแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ แต่วัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของการป่วยหลังจากติดเชื้อ ทั้งยังลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้เกือบ 100% อีกด้วยครับ
เพื่อการรับวัคซีนที่ได้ประโยชน์สูงสุด คุณจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งก่อนฉีด ระหว่างวันที่ฉีด และหลังจากฉีดวัคซีน ดังนี้

เตรียมตัวให้พร้อมรับวัคซีนป้องกันโควิด-19
1. ก่อนฉีดวัคซีน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน
- 2 วันก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนัก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และทำใจสบาย ๆ
- หากเจ็บป่วย มีไข้ ไม่สบาย ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
- ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ และงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- รับประทานอาหารให้เรียบร้อย หากมียารักษาโรคประจำตัวก็ให้รับประทานได้เลย
- ถ้าใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือด กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน
- สำหรับผู้ป่วยที่ทานยากลุ่ม Warfarin และไม่มีประวัติการรักษาหรือมีผล INR ที่โรงพยาบาลใด ภายใน 1 เดือน ก่อนวันฉีดวัคซีน กรุณานำผล INR ไปแจ้งแก่โรงพยาบาลที่จะไปรับวัคซีน
- ฉีดวัคซีน COVID-19 ห่างจากการฉีดวัคซีนอื่น 4 สัปดาห์ กรณีตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนฉีด
- เตรียมบัตรประชาชน ตรวจสอบวัน เวลา และสถานที่ให้ถูกต้อง
2. วันที่ฉีดวัคซีน
- เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการเข้ารับวัคซีนให้พร้อม เช่น บัตรประชาชน ข้อมูลการลงทะเบียน
- เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เดินทางมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัด 30 นาที
- ใส่เสื้อผ้าหลวมสบายเปิดหัวไหล่ เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการฉีดวัคซีน
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่าง
- ก่อนรับวัคซีน ไม่จำเป็นต้องหยุดยาใด ๆ หรือกินยาอื่น ๆ นอกเหนือจากคำสั่งแพทย์
- เจ้าหน้าที่ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต และค่าออกซิเจนในเลือด ก่อนรับการฉีดวัคซีน
- แนะนำให้ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด งดใช้หรือเกร็งแขนข้างที่ฉีด ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
3. หลังฉีดวัคซีน
- พักรอดูสังเกตอาการที่โรงพยาบาลหรือจุดที่ฉีดวัคซีน 30 นาทีอย่างเคร่งครัด
- อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้น เช่น
- อาการไม่รุนแรง สามารถหายได้เองภายใน 3 วัน เป็นอาการทั่ว ๆ ไป เช่นมีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ หรือปวด บวม แดง คันหรือซ้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือมีอาการชาเฉพาะที่
- อาการรุนแรง พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อยเช่น มีก้อนบริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักหมดสติ อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล
- อาการแพ้วัคซีน เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรงความดันตก หลอดลมตีบ หายใจลำบาก มีผื่นขึ้นตามตัว หากพบว่ามีอาการรุนแรง หลังการฉีดวัคซีนควรรีบพบแพทย์ทันที
- พยายามอย่าเกร็งแขนข้างที่ฉีดวัคซีน หรือใช้แขนยกของหนัก ๆ อย่างน้อย 2 วัน
- ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก ให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ได้ 1 เม็ด และรับประทานซ้ำได้โดยห่างกัน 6 ชั่วโมง (ห้ามรับประทานยาพวก Brufen, Arcoxia หรือCelebrex เด็ดขาด)
- เมื่อพักรอดูอาการครบ 30 นาที เจ้าหน้าที่จะทำการวัดความดันโลหิตอีกครั้งก่อนกลับ และเมื่อกลับบ้านแล้วยังต้องสังเกตอาการของตัวท่านเองต่ออีก 48-72 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง หรือปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

ผลข้างเคียงที่อาจได้รับแยกตามประเภทวัคซีน
ชาวไทยที่ต่อคิวทยอยรับวัคซีนทั้งซิโนแวคและแอสตราเซเนกา นับตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. - 6 มิ.ย. 64 รวม 4,218,094 โดส พบผู้ที่มีอาการจากผลข้างเคียงรุนแรง รวม 18 ราย แบ่งเป็น แพ้รุนแรง 17 ราย และชา 1 ราย
แน่นอนครับว่าผลข้างเคียงดังกล่าวเป็นอาการที่อาจพบได้เป็นเรื่องปกติหลังจากได้รับวัคซีน นั่นเป็นเพราะว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคุณกำลังตอบสนองต่อวัคซีน ร่างกายจะสร้างแอนติเจน เพื่อเตรียมต่อสู้กับไวรัสที่เข้าร่างกายครับ แต่ปกติแล้วอาการจะหายเองในอีกไม่กี่วัน
แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าวัคซีนที่คุณได้รับต่างกันมีผลต่ออาการข้างเคียงที่แตกต่างกันด้วย โดยวัคซีนซิโนแวค และแอสตราเซเนกา อาจมีผลข้างเคียงที่พบได้ ดังนี้
-
วัคซีนซิโนแวค
คนที่เข้ารับวัคซีนซิโนแวคทั้งหมดพบว่า 17-21% มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน อ่อนเพลีย, ท้องเสีย และกล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่ไม่ต้องห่วงครับ เพราะอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 2 วัน นอกจากนี้คุณอาจจะมีอาการภูมิแพ้ผิวด้วยเช่นกัน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับยารักษา หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นใน 3 วันครับ
แต่หากคุณมีอาการบวมภายในปากหรือคอ และหายใจลำบาก อันนี้พี่กู๊ดแนะนำว่ารีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะนี่เป็นสัญญาณของอาการแพ้ชนิดรุนแรงครับ อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
-
วัคซีนแอสตราเซเนกา
ผลข้างเคียงของผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาโดยทั่ว ๆ ไปคือ อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน, อาการกดเจ็บเล็กน้อย, อ่อนเพลีย, ปวดหัว, ปวดกล้ามเนื้อ, หนาวสั่น และเป็นไข้ โดยอาการเหล่านี้สามารถหายได้ภายใน 1 วันหลังได้รับวัคซีน ถือว่าปกติไม่น่าเป็นห่วงครับ
นอกจากนี้ยังพบอาการที่รุนแรงคือ อาการอักเสบเฉียบพลันรอบ ๆ ไขสันหลัง, ภาวะโลหิตจาง และมีไข้สูง ซึ่งอาการที่กล่าวมาค่อนข้างพบได้ยากและมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย โดยเฉพาะอาการที่พัฒนาไปสู่ภาวะลิ่มเลือด พบได้ยากมาก เพียง 1 ในล้าน หรือ 4 ในล้านโดสเท่านั้นครับ

รับวัคซีนป้องกันโควิด-19ไปเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าการ์ดตกกันนะครับ ส่วนใครที่อยากเพิ่มความอุ่นใจการจากฉีดวัคซีน ด้วยประกันภัยโควิด-19 พี่กู๊ดว่าดีเลยนะครับ เพราะประกันภัยโควิด-19จะช่วยคุ้มครองคุณเมื่อมีอาการโคม่าจากการฉีดวัคซีนด้วย โดยบริษัทประกันจะชดเชยค่าใช้จ่ายให้แก่คุณ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายได้ รวมถึงกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพด้วยเช่นกัน ถือว่าต่อสู้กับโรคแล้วยังได้เพิ่มการปกป้องคูณสองให้กระเป๋าสตางค์ไปในตัว แบบนี้อุ่นใจชัวร์ครับ
ซื้อ 1 ได้ถึง 2 คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม!! ไม่ต้องซื้อประกันโควิด-19เพิ่ม แค่ทำประกันรถยนต์กับไดเร็ค เอเชีย >>ที่นี่<< รับฟรี* ได้เลย
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คราคา ประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 2+ , ประกันรถยนต์ชั้น 3+, ประกันรถยนต์ชั้น 2 , และ ประกันรถยนต์ชั้น 3 คลิก www.directasia.co.th
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด | รับประกันโดยบริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)
แหล่งข้อมูล: โรงพยาบาลรามคำแหง และไทยรัฐออนไลน์