What can we help you with?

ข้อแตกต่างใบขับขี่สาธารณะ 3 ประเภท ดูขั้นตอนการทำ-อายุใช้งาน

ใบขับขี่สาธารณะ

ตอนเด็ก ๆ ใครเคยมีความฝันอยากลองเป็นคนขับรถเมล์ รถแท็กซี่บ้าง รู้หรือไม่ว่านอกจากใบขับขี่ที่ผู้ขับขี่ทั่วไปใช้งานกันแล้ว ยังมีใบขับขี่สาธารณะ ที่เป็นใบขับขี่สำหรับผู้ให้บริการด้านขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะอีกด้วย ครั้งนี้ ‘ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)’ ขอวางมือจาก ประกันรถยนต์ ที่เราเชี่ยวชาญ มาพาทุกคนไปรู้จักกับประเภทของใบขับขี่สาธารณะ พร้อมวิธีการทำใบขับขี่รูปแบบนี้ รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องการหาข้อมูลเป็นความรู้ หรือคนที่กำลังเตรียมตัวไปทำใบขับขี่สาธารณะ รับรองว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์กันได้แน่นอน

Image
ไดเร็ค เอเชีย โปรโมชัน

 

ใบขับขี่สาธารณะคืออะไร ต่างจากใบขับขี่ทั่วไปอย่างไร

 

ใบขับขี่สาธารณะ เป็นเอกสารประจำตัวของผู้ขับขี่ที่ให้บริการรถสาธารณะ ใช้สำหรับยืนยันว่าบุคคลนี้เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการขับขี่ และได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถสาธารณะได้ตามกฎหมาย ได้แก่ รถโดยสารประจำทางหรือรถเมล์ รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสามล้อหรือรถตุ๊กตุ๊ก รวมถึงผู้ที่นำรถส่วนตัวมาใช้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารก็ต้องทำใบขับขี่สาธารณะเช่นกัน ซึ่งต้องพกติดตัวไว้ทุกครั้ง สำหรับใช้แสดงหากมีเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ โดยใบขับขี่จะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 3 ปี ทั้งนี้หากไม่ได้พกใบขับขี่ฉบับจริงก็มีการอนุโลมให้ใช้ใบขับขี่ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ในการยืนยันตัวตนได้

 

ใบขับขี่สาธารณะจะมีความแตกต่างจากใบขับขี่ทั่วไป กล่าวคือ ผู้ที่ขับรถยนต์ส่วนตัวจะต้องทำใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคล หรือประเภท บ. แต่หากเป็นผู้ขับขี่รถที่ให้บริการรับ-ส่งผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใดก็ตามจะต้องทำใบขับขี่สาธารณะ หรือประเภท ท. นั่นเอง

 

ใบขับขี่สาธารณะประเภท ท. สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

  1. ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สาธารณะ สำหรับผู้ให้บริการรถเมล์ รถแท็กซี่ รวมถึงรถรับ-ส่งผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ
  2. ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ สำหรับผู้ให้บริการสามล้อรับจ้าง หรือรถตุ๊กตุ๊ก
  3. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ สำหรับผู้ให้บริการรถจักรยานยนต์ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รวมถึงรถที่ให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชัน

 

คุณสมบัติของผู้ที่สามารถทำใบขับขี่สาธารณะได้

 

ผู้ที่สามารถทำใบขับขี่สาธารณะได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี รวมถึงมีข้อกำหนดด้านอื่น ๆ ที่ค่อนข้างเข้มงวดกว่าใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคล สรุปมาเป็นข้อสำคัญดังนี้

 

  1. ผู้ที่ทำใบขับขี่รถยนต์สาธารณะและรถยนต์สามล้อสาธารณะจะต้องมีอายุ 22 ปีขึ้นไป ผู้ที่ทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะจะต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
  2. เป็นผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว และมีความสามารถในการขับขี่
  3. ผู้ที่อยู่ในระหว่างถูกยึด ถูกเพิกถอนใบขับขี่ รวมถึงผู้ที่เคยมีคดีเกี่ยวกับการขับรถ หรือโดนปรับตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ไม่สามารถทำใบขับขี่สาธารณะได้
  4. ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกในคดีต่าง ๆ ไม่สามารถทำใบขับขี่สาธารณะได้ เว้นแต่ว่าพ้นโทษมาตามระยะเวลาในข้อกำหนด แบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้ 
  • หากจำคุก 3 เดือนจะต้องพ้นโทษมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
  • หากจำคุกมากกว่า 3 เดือนแต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องพ้นโทษมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี 6 เดือน
  • หากจำคุกมากกว่า 3 ปี จะต้องพ้นโทษมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี
Image
คุณสมบัติผู้สามารถทำใบขับขี่สาธารณะได้

 

ทำใบขับขี่สาธารณะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

 

  1. ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
  2. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง
  3. ใบรับรองแพทย์ โดยจะต้องเป็นฉบับที่ขอไว้ไม่เกิน 1 เดือน

 

ขั้นตอนการทำใบขับขี่สาธารณะ

 

สำหรับผู้ที่ต้องการทำใบขับขี่สาธารณะสามารถจองคิวล่วงหน้าได้ที่ช่องทางต่าง ๆ ถึง 3 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์สำหรับจองคิวของกรมการขนส่งทางบก gecc.dlt.go.th หรือที่แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือจองเข้ารับการอบรมใบขับขี่ได้ที่แอปพลิเคชันทางรัฐ โดยขั้นตอนในการทำใบขับขี่สาธารณะ มีดังนี้

 

  1. ยื่นเอกสารยืนยันตัวตนและคำขอเพื่อจัดทำใบขับขี่สาธารณะ
  2. เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและทักษะสำคัญที่ผู้ขับขี่ควรมี เช่น การทดสอบสายตา ทดสอบภาวะตาบอดสี
  3. เข้ารับการอบรม โดยจำนวนชั่วโมงในการอบรมจะแตกต่างตามประเภทของใบขับขี่สาธารณะที่จะทำ
  4. เข้าสอบข้อเขียน
  5. นำหนังสือที่ได้รับจากกรมการขนส่งทางบกไปยื่นกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากร ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบผลประมาณ 15-45 วัน
  6. ชำระค่าธรรมเนียมในการจัดทำใบขับขี่
  7. ถ่ายรูปติดบัตรและรอรับใบขับขี่สาธารณะ

 

จะเห็นได้ว่าการทำใบขับขี่สาธารณะค่อนข้างเข้มงวดและจริงจังกว่าใบขับขี่ส่วนบุคคล เนื่องจากความรับผิดชอบในการขับขี่ของผู้ที่ให้บริการขับรถสาธารณะค่อนข้างสูง มีหลายชีวิตที่ผู้ขับขี่ต้องพาไปให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ที่ทำใบขับขี่สาธารณะได้จะต้องเคบมีประสบการณ์การขับรถไม่น้อยกว่า 1 ปีและเป็นผู้ที่ไม่มีประวัติการขับขี่ที่เสี่ยงอันตรายนั่นเอง

 

รถสาธารณะมี พ.ร.บ. ช่วยคุ้มครอง ส่วนรถที่ใช้ส่วนตัวไว้ใจให้ไดเร็ค เอเชีย ช่วยดูแลได้เลย โดยคุณสามารถเลือกปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามสไตล์การขับขี่ไปจนถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เมื่อซื้อประกันรถยนต์กับเรา ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1ประกันรถยนต์ชั้น 1 เซฟประกันรถยนต์ 2+ประกันรถยนต์ 3+ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 แถม ผ่อนสบาย ๆ 0% นาน 10 เดือน ไม่มีบัตรก็ผ่อนได้ ซื้อวันนี้แถมฟรี บัตรเติมน้ำมันมูลค่าสูงสุด 3,000 บาท ด่วนจำนวนจำกัด!

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ

Image
DirectAsia ประกันรถยนต์