วิธีลดโรคแพนิค เครียดขับรถไม่เป็น โรคกลัวรถ!

- อาการแพนิค โรคแพนิคคืออะไร
- โรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร
- วิธีรับมือกับอาการแพนิค ขณะขับรถ
- ขับรถยังไงไม่ให้กลัว
เคยไหม ขับรถอยู่ดีๆ แล้วรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน มีอาการมือเท้าชา หรือบางครั้งก็รู้สึกไม่มั่นใจ ตื่นตระหนกขณะขับรถ ควบคุมตัวเองไม่ได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของผู้เป็นโรคแพนิคก็ได้ครับ ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคแพนิคแล้วกลัวการขับรถไปเลยก็มีมาแล้ว หากใครยังสงสัยว่าตัวเองประสบปัญหาดังกล่าวหรือไม่ ให้หมั่นสังเกตตัวเอง เพื่อการขับขี่รถที่ปลอดภัย หรือลองศึกษาข้อมูลที่พี่กู๊ดได้รวบรวมมาให้เบื้องต้น มีดังนี้ครับ
อาการแพนิค โรคแพนิคคืออะไร?
โรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนก เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก รวมถึงผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าอาการที่แสดงออกมานั้นคืออาการของโรคแพนิคครับ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ โดยมีอาการเริ่มต้นอายุประมาณ 15-19ปี และเป็นโรคแพนิคในวัยผู้ใหญ่ถึงร้อยละ 18 ส่วนใหญ่ผู้เป็นโรคนี้มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในอัตราส่วน 2:1 เลยล่ะครับ
โรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร
สาเหตุของโรคแพนิคนั้น ยังไม่อาจทราบแน่ชัดครับ แต่สามารถเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ดังนี้
-
ทางร่างกาย
อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวทำงานผิดปกติ เมื่อสมองถูกกระตุ้นเพียงเล็กน้อย จึงทำให้เกิดพฤติกรรม ความคิดที่ผิดปกติ และส่งผลไปสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายส่วนอื่นด้วยเช่นกันครับ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น กรรมพันธุ์ การใช้สารเสพติด และฮอร์โมนที่ผิดปกติด้วยเช่นกันครับ
-
ทางจิตใจ
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิตมาก่อน คุณอาจเป็นโรคแพนิคได้ไม่ยากเลยครับ เพราะเหตุการณ์เหล่านั้นอาจทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลได้ ยิ่งอายุน้อยยิ่งมีโอกาสเป็นโรคแพนิคได้ง่ายเลยครับ
วิธีรับมือกับอาการแพนิค ขณะขับรถ
อาการกลัวการขับรถที่หลายคนเป็นกัน โดยเฉพาะมือใหม่ อาจจะมีอาการประหม่าบ้าง เช่น กลัวว่าตัวเองจะทำไม่ได้ ไม่กล้าตัดสินใจเหยียบคันเร่ง วิตกกังวลเมื่อมีรถมาขนาบข้าง ถึงกลับต้องหยุดรถกะทันหัน หรือบางรายกลัวการขับรถขึ้นเนิน ขึ้นสะพาน ทำให้มีอาการประหม่าได้
ขับรถยังไงไม่ให้กลัว
-
ฟังเพลงขณะขับรถ
เพลงสามารถสร้างบรรยากาศที่ดีในรถได้ ช่วยควบคุมอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ขับขี่ โดยมีผลการวิจัยรองรับแล้วว่าการฟังเพลงที่มีจังหวะเบาสบายจะช่วยลดอัตราการเกิดอาการแพนิค หรืออาการกลัวได้ครับ
-
ฝึกหายใจ
ฝึกหายใจเข้า-ออกทางจมูก โดยหายใจเข้าจนเต็มปอด และปล่อยลมออกอย่างช้า ๆ จนเริ่มรู้สึกผ่อนคลาย ทำสลับไปมาหลาย ๆ ครั้งจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น การฝึกหายใจแบบนี้ จะช่วยลดความอึดอัดในลำคอ และช่องท้องได้เป็นอย่างดีครับ
-
ไม่ขับรถเร็ว
เพราะการขับรถเร็วจะทำให้ระบบประสาทอยู่ในสภาวะตื่นตัวตลอดเวลา แถมยังทำให้ผู้ขับขี่ต้องใช้สายตามากกว่าเดิม สภาวะดังกล่าวนี้ถือเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการแพนิคได้ดีเลยทีเดียว
-
พกของหวาน หรือลูกอมติดรถไว้
เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า เมื่อที่ร่างกายได้รับน้ำตาล จะส่งผลให้รู้สึกผ่อนคลาย และลดอาการกังวลได้ครับ
-
ยิ่งกลัว ยิ่งต้องขับ
หากคุณบ่ายเบี่ยงที่จะไม่ขับรถ พี่กู๊ดขอเตือนว่าเป็นความคิดที่ผิด เพราะยิ่งคุณกังวลมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องขับเลยครับ เนื่องจากการหยุดขับรถเป็นเวลานาน อาจทำให้คุณกลัวการขับรถมากกว่าเดิม ฉะนั้นการหมั่นขับรถบ่อย ๆ ถือเป็นการฝึกความชำนาญไปในตัว อาจเริ่มจากเส้นทางที่คุณคุ้นเคยก่อนก็ได้ครับ รับรองว่าอาการแพนิคจะลดลงไปเอง
แต่ถึงคุณจะอยู่ในภาวะอาการแพนิคก็ตาม ทุกการขับขี่ต้องมีสติ และตระหนักในสิ่งที่ตัวเองทำอยู่เสมอนะครับ หากคุณรู้ว่าตัวเองมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับข้อมูลข้างต้น หากลองทำวิธีเบื้องต้นที่พี่กู๊ดแนะนำแล้วไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ครับ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
ขับรถปลอดภัยไม่มีอาการแพนิค หรือกังวลแล้ว ต้องรอบคอบทำประกันภัยรถยนต์ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ยังมีประกันรถยนต์คุ้มครองให้อุ่นใจเสมอ โทโทร 02-767-7844 หรือ www.directasia.co.th ด้วยความหวังดีจากพี่กู๊ด อยากให้ทุกคนขับรถยนต์ได้อย่างมั่นใจ
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+ , ประกันรถยนต์ 3+ , ประกันชั้น 2 , และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th/
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
แหล่งข้อมูล: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย