What can we help you with?

อายุ 65 ขับรถอะไรดี ส่องเทคนิคเลือกรถสำหรับให้ผู้สูงอายุขับ

title

ถึงจะเป็นวัยเก๋าแต่หากกำลังวังชายังดีอยู่ การขับรถก็อาจไม่ใช่ปัญหา แต่เพื่อไม่ให้ลูกหลานรู้สึกต้องห่วงจนเกินไป อาจจะต้องมีการตรวจเช็กหรือมีเทคนิคช่วยเสริมความปลอดภัยกันสักเล็กน้อย สำหรับใครที่เกิดคำถามว่าวัยเกษียณ เหล่าคนอายุ 60 อายุ 65 ขับรถอะไรดี หรือควรระวังหรือหลีกเลี่ยงอะไร ครั้งนี้ ‘ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)ประกันรถยนต์ ขวัญใจผู้ขับขี่ทุกวัย เราจะมาบอกเล่ากันว่าคนสูงวัยควรเลือกใช้รถประเภทไหน มีโรคอะไรบ้างที่ควรงดขับรถเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มาติดตามรายละเอียดไปพร้อม ๆ กันเลย

ไดเร็ค เอเชีย โปรโมชัน

ทักษะสำคัญที่ใช้ในการทำใบขับขี่

 

การทำใบขับขี่จะพิจารณาจาก 4 เรื่องหลัก ๆ คือ มีสภาพร่างกายที่แข็งแรง มีความรู้เรื่องกฎจราจร มีสมรรถภาพที่พร้อมสำหรับการขับขี่ยานพาหนะ เช่น ผู้ขับขี่ตาไม่บอดสี มีค่าสายตาที่สามารถมองใกล้-ไกลได้ ลานสายตากว้างเพียงพอที่จะเห็นถนนทั้งซ้ายและขวาหรือไม่ รวมถึงมีทักษะในการควบคุมรถ

 

เนื่องจากครั้งหนึ่งใบขับขี่เคยถูกกำหนดให้มีอายุการใช้งานตลอดชีพ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศออกมาว่าผู้ที่ทำใบขับขี่จะต้องไปต่ออายุใหม่ทุก ๆ 2 หรือ 5 ปี ถือเป็นการยกเลิกการใช้ใบขับขี่ตลอดชีพแบบถาวร 

 

แม้จะไม่มีสถิติออกมารองรับว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นในกลุ่มผู้ขับขี่ที่เป็นผู้สูงอายุมีมากหรือน้อยเพียงใด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากำลังร่างกายที่เสื่อมถอยเมื่อเราอายุมากขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุไม่น้อยเลย ทั้งนี้เป็นเพราะทักษะการขับขี่เกี่ยวข้องกับสายตา การได้ยิน ประสาทสัมผัส และความจำโดยตรงนั่นเอง แต่หากคุณมีร่างกายที่พร้อมและสมรรถภาพที่สมบูรณ์ รับรองเลยว่าคุณจะสามารถทำใบขับขี่ได้อย่างแน่นอน

 

โรคประจำตัวใดที่ไม่ควรขับขี่

 

  1. โรคเกี่ยวกับสายตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก ภาวะตาบอดสี จอประสาทตาเสื่อม
  2. โรคเกี่ยวกับหูที่ส่งผลให้ได้ยินเสียงไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
  3. โรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจและการประมวลผลโดยตรง เช่น อัลไซเมอร์
  4. โรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ เช่น ข้อเข่าเสื่อม กระดูกคอเสื่อม ปวดหลัง
  5. โรคหัวใจ
  6. โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Storke
  7. โรคลมชัก
  8. โรคพาร์กินสัน
  9. โรคเบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

นอกจากโรคที่ไม่ควรขับขี่รถแล้ว ยังรวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างรักษาอาการด้วยการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ง่วงซึมอีกด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นวัยไหนแต่หากได้รับยาที่ออกฤทธิ์ทำให้ง่วงก็ควรพิจารณาตนเองให้ดีก่อนขับขี่ หากรู้ว่าไม่สามารถขับขี่อย่างปลอดภัยได้ ก็ควรวางแผนใช้รถสาธารณะแทน

 

อายุ 65 ขับรถอะไรดี เทคนิคการเลือกรถที่เหมาะสำหรับให้ผู้สูงอายุขับ

 

การเลือกรุ่นรถให้ผู้สูงอายุขับขี่นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ที่บังคับตายตัว สามารถเลือกได้ตามความชอบและความถนัด แต่ไดเร็ค เอเชียมีทริคเล็กน้อยมาช่วยเช็กลิสต์ เพื่อให้คุณสามารถเลือกซื้อรถได้เหมาะกับการใช้งานของผู้สูงอายุมากที่สุด ดังนี้

 

  1. รถที่มีระบบความปลอดภัยที่สูง มีระบบเซนเซอร์กันชน หรือมีระบบเบรกอัตโนมัติ
  2. รถที่มีพื้นที่ห้องโดยสารกว้างขวาง สามารถขึ้นลงได้ง่าย
  3. รถที่ประหยัดพลังงาน และสามารถหาศูนย์ให้บริการได้ง่าย เช่น รถยนต์ระบบน้ำมัน
  4. รถยนต์ที่มีระบบการใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อนจนเกินไป เช่น มีจอสั่งการในระบบสัมผัสที่ใหญ่ ตัวอักษรชัดเจน
  5. รถยนต์ที่มีทัศนวิสัยที่ดี กระจกหน้ากว้างขวาง

 

วิธีเตรียมตัวขับขี่สำหรับผู้สูงอายุ

  • ตรวจสุขภาพรถก่อนเดินทางไกล

นอกจากสุขภาพของผู้ขับขี่ที่ต้องดีแล้ว สุขภาพของรถก็ควรเตรียมพร้อมเช่นกัน โดยเฉพาะเวลาที่เราต้องเดินทางไกล หากเกิดรถมีปัญหาระหว่างทางย่อมไม่ดีแน่ ดังนั้นควรนำรถเข้าตรวจสภาพเป็นประจำทุกปี หรือนำรถเข้าอู่ไปตรวจสภาพก่อนเดินทางไกล

  • เลือกใช้อุปกรณ์ที่จำเป็น

ผู้ที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น แว่นสายตา หรือเครื่องช่วยฟัง ควรเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ก่อนขับขี่ ปรับกระจกมองข้าง มองหลังให้ถูกวิธี เพื่อลดจุดบอดและมุมอับสายตา

  • วางแผนการเดินทาง

ผู้สูงอายุที่ต้องขับขี่ควรมีการวางแผนการเดินทาง การเลือกเดินทางเวลากลางวันจะเป็นผลดีมากกว่าเวลากลางคืน เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องความมืด รวมถึงการมองเห็นเส้นทางหรือป้ายไม่ชัดเจน หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางที่ไม่เคยคุ้นเคยหรือเส้นทางที่ต้องเปิดแผนที่ เพราะอาจเป็นการเพิ่มภาระในการขับขี่ได้

 

แต่หากจำเป็นต้องเดินทางไปในเส้นทางที่เราไม่คุ้นเคย หรือในช่วงเวลากลางคืน ก็ควรชวนผู้อื่นหรือลูกหลานให้นั่งไปด้วยเพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาให้จะดีกว่า

วิธีเตรียมตัวก่อนเดินทางสำหรับผู้สูงอายุที่ขับขี่รถด้วยตนเอง

การขับขี่รถยนต์ไปบนถนนแต่ละครั้ง ไม่เพียงแต่เป็นการรับผิดชอบต่อชีวิตที่อยู่ในรถเท่านั้น แต่ถือเป็นการรับผิดชอบต่อส่วนรวมด้วย ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ ไม่เพียงแต่ผู้ขับขี่สูงวัยเท่านั้น

 

นอกจากเตรียมความพร้อมให้รถและคนแล้ว การมีประกันรถยนต์ติดรถไว้ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้คุณทุกครั้งที่ล้อหมุนอีกด้วย โดยคุณสามารถเลือกปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามสไตล์การขับขี่ไปจนถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เมื่อซื้อประกันรถยนต์กับเรา ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 แถม ผ่อนสบาย ๆ 0% นาน 10 เดือน ไม่มีบัตรก็ผ่อนได้ ซื้อวันนี้ฟรี บัตรเติมน้ำมันมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ด่วนจำนวนจำกัด!

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: Youtube Manoyont Group, กรมการขนส่งทางบก DLT Channel

ไดเร็ค เอเชีย โปรโมชัน

 

หากคุณต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริงด้าน ประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อม เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ ทั้ง ประกันชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 ได้ที่เว็บไซต์ https://www.directasia.co.th/