รู้หรือไม่? รถอายุมากกว่า 7 ปี ต้องตรวจ ตรอ. ทุกปี

หากคุณเป็นคนมีรถ เชื่อว่าต้องรู้จักหรือเคยได้ยินการ ตรวจ ตรอ. รถยนต์ อย่างแน่นอน แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของรถหรือไม่เคยมีรถมาก่อน อาจจะไม่รู้จักว่า ตรอ. คืออะไร จะใช่คำที่ย่อมาจาก ‘ตารางออกรถยนต์’ หรือเปล่า หรือจะมาจาก ‘ตารางรับอาหาร’ ก่อนที่จะเข้าใจผิดกันไปมากกว่านี้ มาดู ‘ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)’ ประกันรถยนต์ ที่พร้อมอยู่เคียงข้างคุณ ได้รวบรวมคำตอบเกี่ยวกับการตรวจ ตรอ. ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รวมไปถึงรถประเภทต่าง ๆ ที่เข้าเกณฑ์ต้องตรวจ ไปติดตามให้กระจ่างกันเลย
ตรวจ ตรอ. รถยนต์ คืออะไร?
ตรอ. ย่อมาจากคำว่า สถานตรวจสภาพรถเอกชน ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐ โดยใช้เป็นที่ตรวจสอบสภาพรถก่อนจะนำรถไปต่อภาษี เนื่องจากผู้ใช้รถมีอยู่ทั่วประเทศตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งอยู่ใกล้และห่างไกล ทำให้สถานตรวจสภาพรถที่จัดตั้งโดยหน่วยงานรัฐบาลอาจไม่เพียงพอ และไม่สามารถดูแลได้อย่างครอบคลุม ดังนั้นรัฐจึงอนุญาตให้เอกชนเปิดเป็นสถานตรวจสภาพรถเอกชนไว้คอยให้บริการประชาชนนั่นเอง
สถานตรวจสภาพรถเอกชน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งจะรองรับบริการตรวจสภาพรถยนต์แตกต่างตามประเภทของรถ ดังนี้
- ตรอ. ที่รองรับการตรวจสอบสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทุกประเภท และทุกขนาดน้ำหนัก
- ตรอ. ที่รองรับการตรวจสอบสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม และรถจักรยานยนต์
- ตรอ. ที่รองรับการตรวจสอบสภาพรถจักรยานยนต์
รถแบบใดบ้างที่เข้าเกณฑ์ต้องตรวจ ตรอ. ?
สำหรับรถที่ออกใหม่อาจจะยังไม่ถึงเวลาต้องเข้ารับการตรวจ ตรอ. แต่หากรถคุณมีการใช้งานมาระยะหนึ่งแล้ว อาจจะเข้าเกณฑ์ต้องตรวจ ตรอ. ดังนี้
- รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี นับจากวันที่จดทะเบียน ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งและแบบเกิน 7 ที่นั่ง
- รถจักรยานยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปีนับจากวันที่จดทะเบียน
- รถที่ใช้ขนส่งผู้โดยสาร สัตว์ หรือสิ่งของ
- รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ที่ค้างชำระภาษีประจำปีเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี
ตรวจ ตรอ. รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
สำหรับการตรวจ ตรอ. รถยนต์ รวมถึงรถจักรยานยนต์ จะใช้เอกสารสำคัญมาพิจารณาประกอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ใบคู่มือจดทะเบียน ซึ่งจะเป็นตัวจริงหรือสำเนาก็ได้
ขั้นตอนการตรวจ ตรอ. รถยนต์ ตรวจสอบตรงไหนบ้าง?
การตรวจ ตรอ. รถยนต์จะมีขั้นตอนสำคัญอยู่ 8 ขั้นตอน ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบรอบคันรถ เพื่อให้แน่ใจว่ารถของคุณจะได้มาตรฐานความปลอดภัยในการนำไปขับขี่บนถนนอย่างแท้จริง ดังนี้
1. ตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้น
ขั้นแรกจะเป็นการตรวจสอบสภาพรถว่าตรงตามข้อมูลที่ระบุไว้ในคู่มือจดทะเบียนหรือไม่ โดยจุดที่ต้องได้รับการตรวจสอบ ได้แก่ หมายเลขทะเบียนรถ ประเภทรถ ลักษณะรถ รุ่นและสีรถ ชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ ชนิดและเลขเครื่องยนต์
2. การตรวจพินิจภายนอก ภายใน และอุปกรณ์ความปลอดภัย
ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการตรวจสอบด้านนอกตัวถังรถโดยรอบ ใต้ท้องรถ รวมถึงภายในรถ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นกงล้อและยาง พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน เข็มขัดนิรภัย ที่นั่ง ระบบไฟและไฟสัญญาณ ฯล
3. ทดสอบศูนย์ล้อหน้า
เป็นการทดสอบการวิ่งในแนวตรง โดยขับรถด้วยความเร็ว 3-5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผ่านเครื่องวัด ซึ่งผลที่ได้จะต้องมีค่าเบี่ยงเบนของศูนย์ล้อหน้า ไม่เกิน ±5 เมตรต่อกิโลเมตร
4. ทดสอบเบรก หรือทดสอบห้ามล้อ
สำหรับการทดสอบเบรกจะทำการทดสอบทั้งเบรกมือและเบรกเท้า โดยแรงห้ามเบรกมือจะต้องไม่น้อยกว่า 20% ของน้ำหนักรถ ในขณะที่เบรกเท้าจะต้องไม่น้อยกว่า 50% ของน้ำหนักรถ
5. การตรวจวัดโคมไฟหน้า
เป็นการตรวจวัดเพื่อดูว่าระยะและองศาการพุ่งของแสงไฟรถเป็นอย่างไร
6. การตรวจวัดค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอน
การทดสอบเพื่อตรวจวัดค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) จะทดสอบนโดยให้รถจอดอยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างและสตาร์ตรถเหมือนใช้งานปกติ แต่จะไม่เปิดแอร์ จากนั้นจะมีการสอดหัววัดเข้าไปในท่อไอเสีย เพื่ออ่านค่าก๊าซว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่
7. ตรวจค่าควันดำ
กฎหมายในปัจจุบันค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องควันดำเป็นอย่างมาก ดังนั้นรถที่ผ่านเกณฑ์จะต้องมีค่าควันดำไม่เกิน 50% เท่านั้น
8. ตรวจระดับเสียงจากท่อไอเสีย
ขั้นตอนสุดท้ายของการนำรถยนต์ไปตรวจ ตรอ. คือ การตรวจวัดความดังของท่อไอเสีย ซึ่งค่าที่ผ่านเกณฑ์จะต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล เอ
ภายหลังการตรวจ ตรอ. รถยนต์ดำเนินไปจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางสถานตรวจสภาพรถที่คุณเข้ารับการตรวจจะส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกทันที หากสภาพรถผ่านเกณฑ์ หลังจากพิมพ์รายงานส่งก็ถือเป็นอันเสร็จเรียบร้อย แต่หากสภาพรถไม่ผ่านเกณฑ์จะต้องนำรถกลับไปแก้ไข และกลับมาตรวจซ้ำภายใน 15 วัน
หากรถที่คุณครอบครองอยู่เข้าเกณฑ์ต้องนำรถมาตรวจ ตรอ. ก็ถือเป็นหน้าที่ที่คุณจะต้องทำตาม เพราะหากมีการตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตออกใบตรวจสภาพรถที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือมีการออกใบตรวจสภาพรถโดยที่ไม่ได้นำรถมาตรวจจริง อาจโดนยกเลิกหรือเพิกถอนใบอนุญาตฯ ได้เลยทีเดียว
หายข้องใจเรื่องตรวจสอบสภาพรถยนต์กันไปแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรลืมเลยก็คือเรื่องของ ปรก. ประกันรถยนต์ นั่นเอง หากมีไว้จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจในการขับขี่ให้กับคุณและผู้โดยสารอีกด้วย โดยคุณสามารถเลือกปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามสไตล์การขับขี่ไปจนถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เมื่อซื้อประกันรถยนต์กับไดเร็ค เอเชีย ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 แถม ผ่อนสบาย ๆ 0% นาน 10 เดือน ไม่มีบัตรก็ผ่อนได้ ซื้อวันนี้ฟรี บัตรเติมน้ำมันมูลค่าสูงสุด 3,000 บาท ด่วนจำนวนจำกัด!
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด มูลค่าโค้ดเติมน้ำมันที่ได้รับ ขึ้นอยู่กับเบี้ยประกันและวิธีชำระเงิน
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.directasia.co.th/