6 สัญญาณมือจราจร เข้าใจท่าทางตำรวจจราจร ช่วยขับขี่ง่ายขึ้น

เคยสังเกตไหมว่าตำรวจจราจรที่ยืนโบกรถอย่างขยันขันแข็งในช่วงเช้าเขากำลังทำท่าอะไร หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าท่าทางนั้นคือสัญญาณมือจราจรไม่ใช่การบริหารร่างกายยามเช้าแต่อย่างใด ซึ่งเหล่าตำรวจที่ยืนโบกรถ อำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่บนท้องถนนเขาไม่ได้ออกท่าทางไปเฉย ๆ แต่ทุกท่าล้วนสื่อความหมายให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตาม
เห็นข้อมูลที่มีประโยชน์แบบนี้ ‘ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)’ประกันรถยนต์ ที่พร้อมรับประกันความอุ่นใจทุกครั้งที่เดินทาง ก็ไม่อยากเก็บไว้คนเดียว เราขอพาทุกคนไปเรียนสัญญาณมือจราจรเหล่านี้กัน ซึ่งมีท่าที่นิยมใช้ทั้งหมด 6 ท่า หากพร้อมออกสเตปไปพร้อมกันแล้วก็มาเริ่มเรียนรู้ท่าทางต่าง ๆ ไปพร้อมกันเลย

6 รูปแบบสัญญาณมือจราจรที่ตำรวจจราจรใช้อำนวยความสะดวกบนท้องถนน
1.ท่าห้ามรถด้านหน้า
ตำรวจจราจรจะใช้นิ้วชี้ชี้ไปที่ด้านหน้า จากนั้นจะนำศอกกลับมาตั้งในมุมฉาก 90 องศา ขนานลำตัว โดยให้กางฝ่ามือเป็นเลข 5 นิ้วทั้ง 5 เรียงชิดติดกัน
2.ท่าห้ามรถด้านหลัง
สำหรับท่าห้ามรถที่อยู่ด้านหลัง ตำรวจจราจรจะหันศีรษะไปมองรถด้านหลังก่อน จากนั้นจะยกแขนด้านหนึ่งมาตั้งเป็นมุมฉาก 90 องศา ขนานลำตัว ส่วนอีกด้านจะอยู่ในท่ากางแขนตรงไปที่ด้านข้างลำตัว ขนานกับพื้น
3.ท่าปล่อยรถด้านหน้า
การปล่อยรถที่อยู่ด้านหน้า ตำรวจจราจรจะเริ่มด้วยการมองดูรถที่จะปล่อย โดยจะตั้งฉากมือขึ้นมาระดับศีรษะเพื่อให้ผู้ขับขี่ง่ายต่อการสังเกต จากนั้นจะกวักมือเข้าหาตัว โดยหงายฝ่ามือขึ้นและกวักเข้าหาตัวเอง ส่วนแขนอีกด้านจะเหยียดตรงขนานพื้นหรือวางข้างลำตัวก็ได้
4.ท่าปล่อยรถด้านหลัง
ต่อมาคือท่าปล่อยรถด้านหลัง ซึ่งสิ่งแรกที่ตำรวจจราจรทำคือการเหลือบมองรถที่อยู่ด้านหลังก่อน จากนั้นจะเริ่มกวักแขนที่เหยียดตรงไปด้านหน้า เพื่อเป็นสัญญาณให้รถเคลื่อนตัวไปได้ จากนั้นตำรวจจราจรจึงจะเข้าสู่ท่าตามระเบียบพักเมื่อดำเนินแล้วเสร็จ
5.ห้ามรถด้านซ้าย
ตำรวจจราจรจะหันมองด้านซ้ายก่อน จากนั้นจึงสั่งห้ามรถ โดยทำท่าแขนเหยียดตรง กางฝ่ามือออก นิ้วทั้ง 5 เรียงชิดติดกัน
6.ห้ามรถด้านขวา
สำหรับการห้ามรถด้านขวาจะทำท่าในลักษณะเดียวกันกับการห้ามรถด้านซ้าย แตกต่างตรงที่ตำรวจจราจรจะหันมองด้านขวาก่อน จากนั้นจึงเหยียดแขนตรงขนานกับพื้น กางฝ่ามือออกโดยให้นิ้วเรียงชิดติดกันเพื่อห้ามรถ
7.ท่าปล่อยรถด้านซ้าย
ตำรวจจราจรจะหันมองดูรถที่ด้านซ้ายก่อน จากนั้นจะโบกมือซ้ายผ่านหน้าตนเอง เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้รถที่อยู่ด้านซ้ายนั้นสามารถขับไปได้
8.ท่าปล่อยรถด้านขวา
สำหรับท่าปล่อยรถด้านขวา ตำรวจจราจรจะหันไปมองรถด้านขวาก่อน จากนั้นจึงกวักมือด้านขวาเข้าหาตัว โดยให้ฝ่ามือด้านขวาโบกเข้าหาตัวไปทางหลังท้ายทอย เมื่อปล่อยรถเรียบร้อยให้กลับมาอยู่ในท่าตามระเบียบพักอีกครั้ง
9.การใช้นกหวีด
นอกจากการใช้สัญญาณมือแล้ว ตำรวจจราจรมักมีอุปกรณ์อื่นร่วมด้วย เช่น นกหวีด ซึ่งจะต้องให้สัมพันธ์กับสัญญาณมือที่ใช้ โดยสัญญาณนกหวีดที่ใช้ในการปล่อยรถและห้ามรถมีดังนี้
- การปล่อยรถ: เป่านกหวีดเสียงยาวครั้งเดียวต่อเนื่อง
- การห้ามรถ: เป่านกหวีดเสียงสั้น 2 ครั้งต่อเนื่อง

คราวนี้หลายคนคงหายข้องใจแล้วว่าสัญญาณมือที่ตำรวจจราจรกวัก ๆ โบก ๆ นั้นหมายความว่าอย่างไร รวมถึงสัญญาณเสียงนกหวีดที่มีทั้งการเป่ายาวและเป่าสั้น ๆ สื่อถึงอะไร ซึ่งหากใครใช้รถใช้ถนนสัญจรอยู่เป็นประจำ การพบเห็นตำรวจจราจรออกมาปฏิบัติหน้าที่และอำนวยความสะดวกให้อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งคุณจะได้ใช้ข้อมูลชุดนี้ได้ไปปฏิบัติได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
รับความรู้ที่น่าสนใจกันไปแล้ว ไดเร็ค เอเชีย ก็อยากให้คนมีรถทุกคนได้รับข้อเสนอประกันรถยนต์ดี ๆ ไว้ด้วย โดยคุณสามารถเลือกปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามสไตล์การขับขี่ไปจนถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เมื่อซื้อประกันรถยนต์กับไดเร็ค เอเชีย ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้น 1,ประกันรถยนต์ชั้น 1 เซฟ,ประกันรถยนต์ 2+,ประกันรถยนต์ 3+,ประกันชั้น 2, และประกันชั้น 3 แถมผ่อนสบาย ๆ 0% นาน 10 เดือน ไม่มีบัตรก็ผ่อนได้ ซื้อวันนี้ฟรีบัตรเติมน้ำมันมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ด่วนจำนวนจำกัด!
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
ขอบคุณข้อมูลจาก: ตำรวจภูธรภาค 5
